ภูมิหลัง ของ วันเอกราช (ประเทศอัฟกานิสถาน)

สงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งแรก (1839–1842) ทำให้กองทัพอังกฤษสามารถยึดครองคาบูลได้ หลังจากนี้ เนื่องจากความผิดพลาดเชิงกลยุทธ์ของเอลฟินสโตน ทำให้กองทัพอัฟกานิสถานภายใต้การนำของอักบาร์ ข่านกำจัดกองทัพอังกฤษได้ที่บริเวณหนึ่งของถนนคาบูล-จะลาลาบาด ใกล้เมืองจะลาลาบาด[3] หลังประสบความพ่ายแพ้ กองทัพอังกฤษ-อินเดียจึงกลับมาที่อัฟกานิสถานในภารกิจพิเศษ เพื่อช่วยเชลยศึก และถอนทัพในภายหลัง

สงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สอง (1878–80) ในตอนแรกอังกฤษเป็นฝ่ายแพ้ที่ไมวันด์ ตามมาด้วยชัยชนะที่กันดะฮาร์ ซึ่งทำให้อับดูร์ ระฮ์มัน ข่านกลายเป็นเอมีร์องค์ใหม่และเริ่มสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษ-อัฟกานิสถาน โดยฝ่ายอังกฤษมีสิทธิควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอัฟกานิสถานกับข้อแลกเปลี่ยนในการป้องกันอาณาจักรของตนจากรัสเซียกับเปอร์เซีย สงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สามใน ค.ศ. 1919 ทำให้อังกฤษยกสิทธิในการควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอัฟกานิสถานคืนใน ค.ศ. 1921[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วันเอกราช (ประเทศอัฟกานิสถาน) http://archive.seacoastonline.com/2000news/8_18_w2... https://books.google.com.au/books?id=8qISDAAAQBAJ&... https://asiatimes.com/2019/08/afghan-palace-emerge... https://khaleejtimes.com/uae/dubai/dubais-burj-kha... https://www.nytimes.com/live/2021/08/19/world/tali... https://www.cia.gov/the-world-factbook/countries/a... https://id.loc.gov/authorities/subjects/sh85064830 https://web.archive.org/web/20210819084417/https:/... https://www.wikidata.org/wiki/Q4689078#identifiers